ขอให้ชาวนครพนม คัดค้านการนำเอาพระธาตุพนม ไปประดับบนยอดหลังคาอาคารด่านศุลกากรนครพนม ที่สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 3 จังหวัดนครพนม

27 ธ.ค. 2553

Ars Longa Vista Brevis " ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น "


               เมื่อกลางเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ช่างเขียน ก็ได้เข้ากรุงเทพไปประชุมวิชาการกับสภาสถาปนิกเขา ซึ่งในตอนท้ายของการประชุม  ที่เป็นช่วงการเปิดโอกาศให้ผู้ร่วมประชุมได้ซักถามและแสดงความคิดเห็นในเรื่องปัญหาต่างๆ ในครั้งนี้  ช่างเขียน ก็มีโอกาศได้พูดในที่ประชุมด้วยถึง เรื่อง จรรยาบรรณต่อสาธารณะ ( ไม่ใช่ผู้ว่าจ้าง ) กับงานออกแบบสะพานข้ามแม่น้ำโขงที่จังหวัดนครพนม


ยอดของหลังคาอาคารด่านศุลกากรนครพนม ออกแบบเป็น " กุฏาคาร หรือ เรือนยอด " 
มีปลียอด ของเรือนยอดเป็นรูปทรงพระธาตุพนม


กุฏาคาร หรือ เรือนยอด  เป็นรูปแบบของส่วนต่อยอดของหลังคา
ที่มีธรรมเนียมการใช้ในงานสำหรับพระมหากษัตริย์ และ ศาสนา เท่านั้น

โดย " ฐานานุศักดิ์ " ทางสถาปัตยกรรมไทยแล้ว  อาคารสาธารณะอย่างนี้
ถึงจะเป็นงานระดับชาติ ของหน่วบงานราชการ  ก็ไม่มีสิทธิ์จะใช้ " กุฏาคาร "


เป็นไปได้ใหมว่า " นี่จะเป็นแบบอย่าง " ให้ที่อื่น นำสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาประดับอาคารได้


เม็ดบัวหัวเสา  ที่เสาใหญ่ขนาบข้างสะพาน  เป็นรูปทรงพระธาตุพนม
ไม่รู้จะตั้งใจ  ให้ผู้คนที่ผ่านสะพาน  ต้องยกมือไหว้ พระธาตุพนม หรือ สะพาน กันแน่
ถ้าเกิดเศรษฐีหรือคนมีสตังค์ จะทำอย่างนี้บ้าง  ถามว่า จะมีใครห้ามได้ใหม  ?






ส่วนยอด หรือ " เรือนยอด " ของอาคารเจ้าปัญหา  จะแก้ก่อน หรือ จะทุบทีหลัง


ทรวดทรงแหลมที่ลดหลั่นเป็นชั้นๆขององค์พระธาตุพนม  มีสัดส่วนที่ลงตัวและงดงามจริงๆ 
การจะนำไปใช้งานใดๆก็ตาม  ก็ต้องเพื่อการเคารพสักการะ ไม่ใช่เพื่อการประดับตกแต่ง

  
             ว่า การที่ผู้ออกแบบนำเอาพระธาตุพนมซึ่งเป็นสิ่งเคารพศักดิ์สิทธิ์มาใช้ประกอบเป็นยอดอาคารเพื่อความสวยงาม มากกว่าเพื่อการสักการะนั้น  เป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมบังควร จะกระทบอย่างรุนแรงกับความรู้สึกของชาวพุทธทั้งหลายและได้เสนอแนะให้ฝ่ายจัดการก่อสร้างฯเขาต้องแก้ไขอะไรยังไงไปแล้วแต่เรื่องก็เงียบ  เลยมาฝากเรื่องให้ สภาสถาปนิกและสมาคมสถาปนิกสยามช่วยตรวจสอบและติดตามเรื่องนี้ให้รีบด่วนด้วยก่อนจะสายเกินแก้  เพราะแก้วันนี้ก็ยังถูกกว่าไปแก้ในวันหน้า  แถมค่าใช้จ่ายในการแก้ไขต้องไม่ใช่เงินภาษี  แต่มันต้องเป็นเงินของผู้รับเหมาเองเพราะรู้อยู่แล้วว่ามีผู้ไม่เห็นด้วยเขาเสนอให้แก้ไขมาแต่แรก และเรื่องนี้มันต้องรีบๆก่อนที่จะสายเกินแก้  
              พูดก็พูดเถอะ  บ้านเมืองเรามันจะอยู่ได้ยังไง  ถ้ามีใครซักคนคิดจะทำอะไรตามใจตัวเองโดยไม่ได้คำนึงถึงระเบียบแบบแผนอันดีงามของสังคม  ที่จะนำมาซึ่งผลกระทบความเชื่อความศรัทธาและอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดของผู้คนส่วนใหญ่ในบ้านเมือง


ที่ทำการ สภาสถาปนิกแห่งประเทสไทย ถนนพระราม 9 กทมฯ



ลงทะเบียนรับ พวต. หลังการประชุม




ประชุมเสร็จ



 เมื่อเสร็จการประชุมเรื่องเครียดๆแล้ว ก็บังเอิญไปเจอเพื่อนรุ่นน้องสมัยเรียนกลุ่มหนึ่งเข้า ด้วยนานทีปีหนจะได้เห็นหน้า  ก็เลยชวนกันไปหาที่นั่งคุยต่อ  แต่เนื่องด้วยสถานที่ประชุมอยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์  สามารถไปได้ไกลกว่านี่  ก็เลยขึ้นรถไฟฟ้าฯไปลงย่านราชประสงค์เพื่อเลือกหาร้านเก๋ๆนั่งจิบกาแฟคุยกันดีกว่า



สถานีมักกะสัน




ขึ้นรถแอร์พอร์ตลิ้งค์ ที่สถานีรามคำแหง  ไปลงสยาม


รถด่วนเอ็กซ์เปรสผ่านหน้า  สายนี้วิ่งตรงจากสุวรรณภูมิไปถึงพญาไทไม่จอดแวะ



ภายในรถแอร์พอร์ตลิ้งค์


สยามพารากอน  


ลานทางเดินด้านหน้า  สยามพารากอน  แต่งได้สวยงามเพื่อรับเทศกาลพิเศษ  


วันนี้อากาศดี  ท้องฟ้าแจ่มใส  ไม่มีฝน









ภายในสยามพารากอน  เย็นฉ่ำหรูหราสวยงาม




       เมื่อหาดูร้านที่มีคนน้อยและเงียบได้ถูกใจ  ก็แหมะก้นให้รากงอก แล้วมาถกกันต่อเรื่อง พระธาตุพนมที่หลังคาอาคารด่านศุลกากรมนครพนม  เพราะโครงการสะพานข้ามแม่น้ำโขงเป็นงานใหญ่ระดับประเทศ  อีกอย่างกลุ่มนี้เคยวิสัชนาเรื่อง " อุจจาระสุนัขก้อนนิดเดียว " ก็ข้ามคืนไปอีกวัน  แล้วงานใหญ่อย่างนี้  จะแค่ไหนก็ไม่อาจคาดเดา





น้อย   สถาปนิกจากนครศรีฯ    " ถ้ามีคนออกแบบเอา พระบรมธาตุฯไปตั้งบนยอดหลังคาสถานที่ราชการเพื่อเป็นขวัญกำลังให้พนักงานฯ แบบนี้  ผมก็เอาตายเหมือนกัน พี่  มันคิดได้ไง แล้วเอาอะไรคิดน้อ  "
ขจร   สถาปนิกฝั่งธนฯ    " ผมเชื่อว่า  คงไม่มีใครกล้าเอาพระปรางค์วัดอรุณไปแหมะบนยอดตึกเหมือนกัน  ใครคิดได้แบบนี้  ผมว่ามันทั้งบ้าทั้งโง่และเสียสติ ครับ "
หนุ่ม  สถาปนิกเมืองเหนือ  " ถ้ามีคนแอบเอาพระธาตุดอยสุเทพ  ไปใช้ในลักษณะนี้  ผมจะยื่นเรื่องต่อสภาสถาปนิก ให้ถอดถอนใบอนุญาตฯ ของมันเลยล่ะ  "
ติ๊ก   สถาปนิกชาวคริสต์เตียน  "  ผมอ่านเอกสารของพี่แล้ว  คิดว่าคนออกแบบระดับนี้  เขาน่าจะแยกแยะออกนะ ระหว่าง สิ่งเคารพ กับ สัญลักษณ์ของจังหวัด พี่ว่าคนออกแบบเขาจบรุ่นไหนและเป็นยังไงครับ "


ช่างเขียน    " เห็นหน้าตาแล้ว คงไล่เรี่ยกับพวกเรานั่นแหละแต่ไม่รู้ว่าจบที่ไหน  ในเบื้องต้นนี่ พี่ว่าเขาคงไม่ใช่ไทยพุทธนะ ต่อมาเมื่อได้ฟังเขาดีเฟนด์  ความคิดและเหตุผลในการออกแบบของเขาแล้ว  รู้สึกว่า  เขามีจินตนาการมากเกินข้อเท็จจริง นอกจากการถือวิสาสะใช้พระธาตุพนมแล้ว  ก็ไม่ได้มีรายละเอียดอะไรที่เกี่ยวข้องกับนครพนมหรืออีสานเลย  ไม่มีอัตลักษณ์ของท้องถิ่นแม้แต่น้อย  อาจจะพูดได้ว่า  เขาอยากอวดความเก่งกาจของเขามากกว่าที่จะทำอะไรเพื่อชาวนครพนม "
หนุ่ม  " ผมเห็นด้วยกับพี่นะครับ  ที่เขาอ้างว่า  ได้ความคิดจากวัดอีสานทางเหนือ  แต่อาจจะเหนือเลยอีสานไกลไปจนถึง เชียงใหม่และหลวงพระบางโน่น  เหมือนว่า  เขากล้าสะ-ตอกับพี่นะ  แล้วคิดว่า ข้ออ้างเหตุผลแค่นี้ จะรอดมือพี่ เรอะ  "
ช่างเขียน    "  ก็ร้องเรียนไปถึงผู้ว่า ฯ เกือบปีแล้วแต่เรื่องก็เงียบ  แต่ตอนนั้นแกไม่สบายจริงๆ  เลยให้รองผู้ว่าฯ ปฎิบัติหน้าที่แทน  เออ รองผู้ว่าฯ คนนี้เขาเรียนสวนกุหลาบรุ่นเดียวกับ ไอ้หมา เพื่อนพี่นะ จำได้ใหม  "
น้อย     " อ๋อ พี่หมา วัฒนาฯ จำได้ครับ  พูดถึงเด็กสวนฯ จริงแล้วก็มีคนเก่งหลายคน  แต่ในวันนี้ หลายคนก็มีความคิดน่ากลัว และมีทัศนคติที่เป็นอันตรายต่อความสงบสุขของบ้านเมือง  "
ขจร    "  เฮ๊ย ไอ้น้อย นี่เอ็ง กำลังจะลากพี่เขาเข้าเรื่องการเมืองแล้ว  แต่พี่คุยเรื่องการเมืองได้มั๊ยครับ  "
ช่างเขียน  "  ได้สิ  "



ติ๊ก  "  เรื่องการเมืองนี่  พี่สีอะไรครับ  "
ช่างเขียน  "  พี่มี 3 สี  ไม่ชอบสีเดียวโดดๆไม่ว่าจะสีอะไร  พวกเราก็รู้เรื่องทฤษฎีสีดีนี่ การเล่นแม่สีแท้ๆที่มี 3 สี น้ำเงิน เหลือง แดงนี่ ใช้สีเดียวมันแรงไปต้องมีคู่สีด้วยถึงจะลงตัว จริงมั๊ย  ว่าแต่พวกเราเหอะ มีใครเล่น " สงครามสี " กะเขาบ้าง  "
น้อย  "  โอ๊ย  ไม่มีหรอกครับ  พวกเราแค่ชอบติดตามข่าวการเมือง  แต่ไม่ได้คิดจะฝักใฝ่หรืออยากไปร่วมชุมนุมอะไรกับใคร  เพราะเรามีสมองของเราเองคิดเองได้  ไม่ต้องไปเชื่อไปฟังใครที่ไหนก็ไม่รู้หน้าตาโจรๆ  ที่สำคัญคือ  มันเสียเวลาทำมาหากิน  ยิ่งหมู่นี้คนก็ตกงานอยู่บ่อยๆ  "
ขจร  "  ผมเคยไปกินข้าวบ้านเพื่อนโรงเรียนเก่าครั้งนึงเมื่อเร็วๆนี้  โอ้โฮ ก็เพิ่งรู้ว่า เดี๋ยวนี้มันแดงกันทั้งบ้าน  กินข้าวไป  ก็ด่าไป  เขาด่าหมดครับ ครบทุกสถาบันสำคัญ  ผมสังเกตุดูหน้าตาคนบ้านนี้  ตอนที่เขาด่านี่  มันดูซีเรียท ถมึงถึงเอาเป็นเอาตาย  น่ากลัวครับ  คิดว่าบ้านนี้ผมจะไม่ไปเหยียบอีกแล้ว  มันคนละรสนิยมจริงๆ  "



น้อย  "  ผมไม่เข้าใจการเรียกร้องของเขา เรื่องประชาธิปไตย และ เรื่อง 2 มาตรฐานครับ พี่ "
ช่างเขียน  "  พวกที่พูดถึงเรื่องประชาธิปไตยนี่ คือ เขาไม่ชอบการปฎิวัติของทหาร   ส่วนพวกที่พูดเรื่อง 2 มาตรฐานนี่ เขาต้องการให้กระทบระบบระบอบของประเทศเผื่อว่าจะเกิดความเปลี่ยนแปลง  แปลกที่เขาไม่ได้บอกว่ามาตรฐานใดที่เขาต้องการ ในโลกแห่งความเป็นจริงแล้ว  ชีวิตของคนเรานี่ มีมากมายหลายมาตรฐานไม่เท่ากันขึ้นกับการกระทำของแต่ละคน  เพราะถึงจะเกิดตายเหมือนกัน  แต่ความดีเลวโง่ฉลาดเก่งห่วยก็ไม่มีทางเท่ากัน  ดูตัวอย่างฟุตบอลไทยที่กำลังฮ็อตฮิทในวันนี้  เห็นข่าวการชกกันหรือการทำร้ายกันของนักบอลกับนักบอล กองเชียร์กับกองเชียร์  กองเชียร์กับกรรมการแล้ว ก็ไม่อยากพูดถึงมาตรฐานการไปฟุตบอลโลกเลย  เอาเป็นว่า  มาตรฐานแบบนี้  ก็ต้องเตะอยู่แต่ในบ้าน  อย่าได้คิดทำอะไรที่เกินมาตรฐานของตัวเองเลย พูดแล้วอายแทนคนพวกนี้  "



หนุ่ม  "  ข่าวทีวีที่ผมไม่อยากดูเลย ก็คือเรื่อง คนไทยทำร้ายกัน ฆ่ากันเอง เช่น เด็กช่างกลอาชีวะยกพวกตีกันฆ่ากัน พวกเชียร์บอลยกพวกตีกัน และ เรื่องชุมนุมของพวกเสื้อแดง  รู้สึกน่ากลัวยังไงบอกไม่ถูก  ตำรวจไทยเราก็ใช้ไม่ได้  เป็นแตงโม  มะเขือเทศไปหมด  "
ติ๊ก  " ฝั่งธนฯ นี่เป็นพื้นที่ของเขาเลยล่ะ  แต่คนไม่เอาแดงนี่ก็เยอะนะครับ  เพียงแต่เขาไม่อยากไปยุ่ง  "
หนุ่ม  "  ที่บ้านพี่  พวกแดงมีอิทธิพลมากขนาดดิ้ดนิ้วสั่งได้ใหมครับ  เห็นแกนนำเคยประกาศว่า  ชุมนุมใหญ่คราวนั้นจะมีคนอีสานเข้ามาชุมนุมเป็นล้าน  "


สัจธรรมของความดีงาม          "  ศิลปยืนยาว  ชีวิตสั้น  "


สัจธรรมบาปบุญ  " มนุษย์เกิดมาเพื่อใช้กรรม ใครมีกรรมมาก มันก็ต้องอยู่นานมากๆ  "  


สัจกรรม  " เดินทางมาตั้งไกล  ทำไมมองไม่เห็นโลงศพ ( ว่ะ ) "

ช่างเขียน  "  ก็มีนะแต่ไม่ได้แรงอะไร  เพราะตัวการเราก็รู้ประวัติหมด ใครขายอะไร ใครทำงานที่ไหน ใครผัวใครเมีย  ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นพี่ก็จะตะโกนว่า "  ฝีมือไอ้อีคู่นี้แหละ "  เอ้อ เรื่องที่เขาคุยว่าจะมีคนแห่มาเป็นล้านนั่น แสดงว่า เขาก็คงจะจ่ายเงินให้คนเป็นล้านไปจริงๆแล้วล่ะนะ  เพราะน้ำเลี้ยงท่อมันใหญ่มาก จึงกล้าพูดยังงั้นได้  ที่นครพนมเขาก็จ่ายหัวละ 2,000 คนแห่มารับเงินเยอะมาก  แต่เอาเข้าจริงขึ้นรถไปนิดเดียว  โถ ก็รับเงินง่ายๆสบายๆไปแล้ว ก็ไม่รู้จะแส่ไปหาความลำบากไปกินไปนอนบนถนนยังไง น้อ  ทุกครั้งที่พี่เห็นขบวนแห่ของพวกแดงบนถนนนี่  รู้สึกโกรธมาก เพราะความวุ่นวายในนครพนมบ้านพี่นี่  มันเกิดจากนักการเมืองอุบาทย์ที่เป็นคนต่างถิ่นที่เข้ามาอาศัยบ้านเมืองของเราทำมาหากิน "
ขจร    "  ดูเหมือนว่า  พี่จะรังเกียจพวกเสื้อแดง นะครับ  "
ช่างเขียน   " พูดโดยสำนึกของคนไทยปรกติทั่วไปที่รักชาติบ้านเมือง  ไม่ได้รังเกียจ  ก็แค่เกลียด !!!  "
                 ช่วงนั้นเอง ก็มีเด็กเสริฟผู้ชายคนนึงเดินมาที่โต๊ะของเรา  แล้วเอียงหน้ามากระซิบ
เด็กเสริฟ  "  พี่ๆ เบาๆหน่อยครับ  รู้สึกแขกโต๊ะถัดไป 3 โต๊ะเขาจะเหล่พี่แล้วนะครับ  "
ขจร  "  ถึงไม่เห็นมีใครเสื้อสีแดง  แต่หน้าตาๆแบบนี้รู้สึกผมจะคุ้นๆนะ  อ้อ  นึกออกแล้ว  มันพวกทอมเสื้อแดงแว่นดำที่เห็นตามข่าวหน้าจอทีวีนี่  "
ช่างเขียน  " แหม พูดยังไม่ขาดคำ ก็หมด " ชิลลิ่ง " เลย เฮ้ย  พี่ว่า  กาแฟหมดแล้ว พวกเรามูฟกันเหอะ  ไปหาร้านใหม่แถวหลังสวนนั่งจิบเบียร์ดีกว่านะ  พี่เป็นเจ้ามือเอง  เอ้า  น้อง เช็คบิลล์  "   


สวัสดีครับ


อยากไปเร็ว  ให้รีบไป   อยากไปไกล  รอไปด้วยกัน

จับตา  สามยาม 

27  ธค.  2553



29 พ.ย. 2553

แบบไหนดีล่ะ ได้ทำเกือบดี หรือ ทำได้ไม่เลว


                          เมื่อ 2 - 3 วันก่อนมีญาติจากต่างแดนมาแวะเยี่ยมช่างเขียน  บอกว่าเสียดายเหลือเกินที่มาไม่ทันงานไหลเรือไฟปีนี้ เพราะมีปัญหาเลื่อนตั๋วเคริ่องบินไม่ได้  แถมยังบอกว่า " ตั้งใจจะมาดูเรือไฟให้ได้ เพราะได้ยินข่าวว่าปีนี้ทางการจะจัดให้ยิ่งใหญ่ที่สุด "  แต่ในใจของ ช่างเขียน อยากตอบว่า " ไม่ทันก็ไม่เป็นไรหรอก  เพราะปีไหนๆก็เหมือนอย่างที่เคยเห็นนั่นแหล่ะ  และปีนี้ก็ไม่ได้มีอะไรพิเศษ "


                     พูดถึงงานไหลเรือไฟปีนี้ที่ทางจังหวัดว่าจะจัดให้ยิ่งใหญ่นั้น  ช่างเขียน  เองก็ไม่ได้คาดหวังอะไรมากนัก   เพราะรู้สึกดินฟ้าอากาศในช่วงใกล้งานออกจะแปรปรวนซักหน่อย  ก็เลยขอแต่ให้งานลุล่วงไปด้วยดี  อย่าให้ฝนฟ้าพายุมาป่วนงานจนเสียหายก็แล้วกัน  อีกอย่างก็เห็นงานไหลเรือไฟมาหลายสิบปีแล้ว  แต่ที่อยากจะเห็นจริงๆก็คือ  การแสดงศิลปวัฒนธรรมของชนเผ่าในท้องถิ่นนครพนม  ที่ว่ากันว่า  หาดูชมยาก



             ก่อนวันงานไหลเรือไฟฯ ก็สังเกตุว่าที่เวทีลานตะวันเบิกฟ้า  ยังเงียบเชียบ ไม่ได้มีการเตรียมทำอะไรเหมือนอย่างปีก่อนๆ  คล้ายกับว่าจะไม่ใช้พื้นที่ตรงนี้จัดกิจกรรมอะไรเหมือนที่เคยจัด




          แว๊ปมาดูเวทีฯ  ที่หน้าตลาดอินโดจีน ในคืนแรกของงานฯ
 ก็พบการจัดงานใหญ่โตของสมาคมชาวไทยเวียตนาม -นครพนม
ก็เลยสงสัยว่า  แล้วปีนี้เขาจะจัดการแสดงวัฒนธรรมฯที่เวทีไหนนี่

นี่คือ เวที่สำคัญ ของงานไหลเรือไฟจังหวัดนครพนม

เห็นท่านอยู่ทุกที่

ในบริเวณนี้  รับรองว่าไม่มีใครหนีท่านพ้น




     พออีกวันถัดมา  ได้ผ่านไปที่บริเวณหน้าตลาดอินโดจีน
ก็พบว่ามีการจัดงาน " ถนนอาหารสะอาด รสชาติอร่อย " 
กำหนดงาน 15 - 24 ตุลาคม 2553 เวลาเดียวกับงานไหลเรือไฟเลย
ก็เลยเดาเอาว่า  การแสดงศิลปวัฒนธรรมนครพนมปีนี้น่าจะไม่มี

ยืนชมตามอัธยาศัย  ดูไกลๆเหมือนมีคนดูเยอะ

แต่แล้วในหัวค่ำของคืนวันที่ 4 ของงานไหลเรือไฟฯ  
มี บอย เพื่อนของลูกชาย  ขี่มอเตอร์ไซต์แวะมาแจ้งข่าว

" คุณลุงไม่ไปดูการแสดงที่อินโดจีน เหรอครับ ตอนนี้เขาเริ่มแล้วนะ"
" อ้าว  ยังจัดอยู่เหรอนึกว่าไม่มีซะแล้ว  ว่าแต่ทำไมปีนี้มันเงียบจัง  ไม่เห็นมีใครรู้เรื่องเลยว่าจะจัดที่ไหน " ช่างเขียน คิดในใจ
ว่าแล้วก็ดิ่งมาที่ตลาดอินโดจีนทันที




พอมาถึงสถานที่ ลานหน้าตลาดอินโดจีน ก็เห็นเวทีมีไฟสว่าง พร้อมกับเสียงเพลงโปงลางดังกระหึ่ม  มีคนยืนมุงดูการแสดงพอสมควร
แต่เมื่อโผล่ไปดูหน้าเวที  อ้าว ป้ายถนนอาหาร ยังอยู่ไม่ได้เปลี่ยน
ไปดูบริเวณที่นั่งชม  ก็ไม่มีเก้าอี้ให้นั่ง ในคราวนี้
แต่ก็มีคนปูเสื่อนั่งดูไม่กี่คน  ซึ่งก็ไม่ได้แปลกใจอะไร
เพราะการแสดงพื้นบ้านแบบนี้ จะกี่ปีๆ ก็มีผู้มาชมบางตา
จะเสียความรู้สึกบ้าง  ก็คงเป็นเรื่องฉากหลังเวที
ที่ ไม่ได้เอื้อบรรยากาศ การแสดงขนบประเพณีของท้องถิ่นเลย


 ก็พบว่ามีคนนั่งดูน้อยกว่า คนแสดงบนเวที


" อ้าวเวอะ เฮ๊ย  ฉากหลังยังเป็น ถนนอาหารสะอาด  อยู่  "


ประหยัดแบบนี้  ก็ประหยัดความประทับใจด้วยนะ

บรรยากาศการชมแบบบ้านๆ สบายๆ ตามอัธยาศัย  แล้วอย่ามาว่ากัน



   คนดูส่วนใหญ่ก็เป็นผู้ติดตามชาวคณะการแสดงนั่นแหละ



 ที่ไม่ได้แปลกใจเลยก็คือ  มีผู้ชมน้อยบางตา  แต่ที่อึ้งกิมกี่ ก็คือ  ไม่มีเก้าอี้นั่ง
ซึ่่งพิธีกรบนเวที ก็เป็นใจดีเหลือเกิน ยุให้คนดูใช้ถุงก็อปแก็บมาปูรองนั่งก็ได้



ภาพการแสดงที่ลานตะวันเบิกฟ้าเมื่อปีก่อน  ถึงคนดูน้อยแต่ก็มีเก้าอี้ให้นั่งชมสบายๆ

เหตุที่มีผู้ชมการแสดงศิลปะพื้นบ้านน้อยนี่  น่าจะเป็นเพราะ  ผ่ายจัดงานไม่ได้โหมโฆษณาประชาสัมพันธุ์ จนคนไม่รู้ว่า ปีนี้จะมีการ
แสดงมั๊ย แล้วจะจัดที่ไหน เมื่อไหร่และมีอะไรบ้าง
  ที่สำคัญ  ไม่ได้ตระเตรียมตกแต่งสถานที่  เพื่อจะเกื้อหนุนส่งเสริมบรรยากาศให้ การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านนครพนม  มีความน่าสนใจยิ่งขึ้น











เมื่อได้ชมการแสดงมา 2 - 3 คืนแล้ว ขอบอกว่าปีนี้มีคุณภาพกว่าปีก่อนมาก  หลายชุดมีความน่าสนใจและมีสิทธิ์แจ้งเกิด
เสียดายแทนหลายๆคนที่ไม่มีโอกาสได้มาชม
แต่ก็อดเสียความรู้สึกแทนชาวคณะการแสดงชนเผ่าทุกชุดไม่ได้
เพราะเตรียมตัวมาเป็นเดือนๆ  แต่มาแล้วมีคนดูไม่กี่สิบ
ก็แน่นอนว่าเวทีการแสดงพื้นบ้าน คงจะไม่เท่า เวทีคอนเสิร์ท

เมื่อพูดถึง " การแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น " แล้ว  
ทำให้นึกผู้ใหญ่ที่ ช่างเขียน นับถือท่านหนึ่ง
ที่ต้องขอย้อนเรื่องไปนานซักหน่อย


                    คงจะประมาณหลังสงครามเวียตนามจบใหม่ๆ  ในตอนนั้นฝรั่งจีไอที่เคยเห็นอยู่ทั่วเมืองนครฯหายไปหมดยังกะโดนสาป  แล้วก็มีผู้อพยพหลั่งไหลเข้ามาอยู่แทน  จำได้ว่าช่วงนั้นเองที่มีโอกาสได้พบผู้ใหญ่ท่านนี้ ซึ่งเป็นนักเขียนคนดังของ อนุสาร อสท. เป็นครั้งแรก  ตอนนั้นท่านกำลังเดินทางสำรวจหาข้อมูลการท่องเที่ยวในภาคอีสาน และได้แวะมานครพนมวันนั้นพอดี   ในระหว่างการสนทนา ท่านเล่าให้ฟังว่า  เมื่อปี 2505  เคยมาอีสานเป็นครั้งแรกกับคณะ อสท.ชุดใหญ่เพื่อมาสำรวจแหล่งท่องเที่ยว การจัดทำสารคดีและเผยแพร่การท่องเที่ยว  โดยมีเป้าหมายจะไปชมวิถีชีวิตของชนชาวผู้ไทยใน 3 จังหวัด คือ กาฬสินธุ์ สกลนคร และนครพนม


               ในตอนนั้น ท่านและชาวคณะต่างมีความเห็นว่า  วัฒนธรรมประเพณีของชาวผู้ไทยทั้ง 3 จังหวัด  เป็นเรื่องที่น่าตื่นตาตื่นใจ  และมีความแปลกแตกต่างจากชาวอีสานโดยทั่วไป เช่น ประเพณีการบายศรีการผูกข้อต่อแขน  การชนช้าง หรือ ดูดอุ ( เหล้าไหภูไท ที่ชาวคณะจดจำรสชาติความมึนเมาไปไม่รู้ลืม ) แต่สำหรับ ที่อำเภอเรณูนคร  จังหวัดนครพนม แล้ว  ชาวคณะประทับใจที่สุดกับ การต้อนรับขับสู้แขกผู้มาเยือน ความงามนุ่มนวลของสาวผู้ไทยเรณูนคร  ซึ่งเลื่องชื่อมากในเวลานั้น  และโดยเฉพาะ  เครื่องแต่งกายของสาวผู้ไทยเรณูนคร ชุดสีน้ำเงินขลิบแดง มีผ้าสไบพาดไหล่สีขาว ทัดดอกไม้ขาวที่มวยผม  ท่านคิดว่า อันนี้มันทำให้สาวผู้ไทยเรณูนคร  ดูโดดเด่นและแตกต่างจากสาวผู้ไทยที่อื่นๆ 


 แล้วท่านยังได้พูดถึงสิ่่งดีๆมากมายที่ได้พบเห็นในจังหวัดนครพนมว่า  นอกจากมี " พระธาตุพนม " ที่คนรู้จักเคารพนับถือไปทั่วประเทศแล้ว  นครพนมยังเป็นเมืองชายแดนติดแม่น้ำโขงที่มีธรรมชาติสวยงาม  แถมยังรุ่มรวย " มรดกทางวัฒนธรรม " คล้ายกับจังหวัดชายแดนทางภาคเหนือ นั่นก็คือ วิถีชีวิตของ 7 ชนเผ่าชาติพันธุ์ซึ่งหลายที่ไม่มี  ที่ต่อไปวันหน้าจะเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของจังหวัดนครพนม  ที่สามารถใช้เป็นจุดขายด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดได้


                 ก็น่าจะเป็นเช่นนั้นนะ  เพราะในเวลาต่อมา  เมื่อการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดโปรแกรมพานักท่องเที่ยวมาตระเวณท่องเที่ยวที่ภาคอีสานทีไร  ก็มักจะเลือกจังหวัดนครพนมเป็นไฮไลท์ของการเดินทาง  โดยกำหนดให้เป็นสถานที่จัดเลี้ยงรับรองนักท่องเที่ยว ในบรรยากาศแบบท้องถิ่น มีการบายศรีสู่ขวัญ  การชนช้างและชมการแสดง " ฟ้อนภูไท " ของชาวผู้ไทยเรณูนคร  และเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวออกมาร่วมสนุกในการฟ้อนรำกับหนุ่มสาวผู้ไทยในคืนนั้นทุกที


                 ชื่อเสียงของ " ฟ้อนภูไท " ที่โด่งดังเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศ  ได้สร้างอานิสงส์อันใหญ่ยิ่ง  ที่ชาวคณะฟ้อนภูไทเรณูนครได้รับในเวลาต่อมา ก็คือ  การมีโอกาสได้รับเชิญไปแสดงที่หน้าพระที่นั่งอยู่หลายครั้งหลายวาระ และแถมยังได้ไปแสดงโชว์ที่ต่างประเทศตามพระราชเสาวนีย์ก็อีกหลายครั้งเช่นกัน  ไม่นับรวมถึงการไปแสดงในงานอื่นๆทั่วประเทศนับครั้งไม่ถ้วนและการบรรจุลงในหลักสูตรของวิทยาลัยนาฎศิลปหลายแห่ง

        จำเนียรกาล ก็ลุล่วงมา เนิ่นนานกว่า 40 ปีแล้ว  นับแต่ร่ำลือกันว่ามี   " พลอยก้อนใหญ่  " จมอยู่ที่แม่น้ำโขง ณ เมืองแห่งขุนเขา แห่งนี้  ถ้าจะปล่อยให้พลอยสีสวยเหล่านี้จมอยู่ใต้น้ำต่อไป ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย  หรือว่า  จะรอท่า "ใครสักคน "  ขุดขึ้นมาเจียรนัยให้เป็น " พลอยส่องสี มณีส่องแสง " ให้ผู้คนทั้งแผ่นดินได้ชื่นชมต่อไป

สวัสดี

อยากไปเร็ว  ก็ให้มรึงรีบไป     อยากไปไกล  ก็ให้รอไปกับกรู

จับตา  สามยาม
28 ตุลาคม 2553