ขอให้ชาวนครพนม คัดค้านการนำเอาพระธาตุพนม ไปประดับบนยอดหลังคาอาคารด่านศุลกากรนครพนม ที่สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 3 จังหวัดนครพนม

29 พ.ย. 2553

แบบไหนดีล่ะ ได้ทำเกือบดี หรือ ทำได้ไม่เลว


                          เมื่อ 2 - 3 วันก่อนมีญาติจากต่างแดนมาแวะเยี่ยมช่างเขียน  บอกว่าเสียดายเหลือเกินที่มาไม่ทันงานไหลเรือไฟปีนี้ เพราะมีปัญหาเลื่อนตั๋วเคริ่องบินไม่ได้  แถมยังบอกว่า " ตั้งใจจะมาดูเรือไฟให้ได้ เพราะได้ยินข่าวว่าปีนี้ทางการจะจัดให้ยิ่งใหญ่ที่สุด "  แต่ในใจของ ช่างเขียน อยากตอบว่า " ไม่ทันก็ไม่เป็นไรหรอก  เพราะปีไหนๆก็เหมือนอย่างที่เคยเห็นนั่นแหล่ะ  และปีนี้ก็ไม่ได้มีอะไรพิเศษ "


                     พูดถึงงานไหลเรือไฟปีนี้ที่ทางจังหวัดว่าจะจัดให้ยิ่งใหญ่นั้น  ช่างเขียน  เองก็ไม่ได้คาดหวังอะไรมากนัก   เพราะรู้สึกดินฟ้าอากาศในช่วงใกล้งานออกจะแปรปรวนซักหน่อย  ก็เลยขอแต่ให้งานลุล่วงไปด้วยดี  อย่าให้ฝนฟ้าพายุมาป่วนงานจนเสียหายก็แล้วกัน  อีกอย่างก็เห็นงานไหลเรือไฟมาหลายสิบปีแล้ว  แต่ที่อยากจะเห็นจริงๆก็คือ  การแสดงศิลปวัฒนธรรมของชนเผ่าในท้องถิ่นนครพนม  ที่ว่ากันว่า  หาดูชมยาก



             ก่อนวันงานไหลเรือไฟฯ ก็สังเกตุว่าที่เวทีลานตะวันเบิกฟ้า  ยังเงียบเชียบ ไม่ได้มีการเตรียมทำอะไรเหมือนอย่างปีก่อนๆ  คล้ายกับว่าจะไม่ใช้พื้นที่ตรงนี้จัดกิจกรรมอะไรเหมือนที่เคยจัด




          แว๊ปมาดูเวทีฯ  ที่หน้าตลาดอินโดจีน ในคืนแรกของงานฯ
 ก็พบการจัดงานใหญ่โตของสมาคมชาวไทยเวียตนาม -นครพนม
ก็เลยสงสัยว่า  แล้วปีนี้เขาจะจัดการแสดงวัฒนธรรมฯที่เวทีไหนนี่

นี่คือ เวที่สำคัญ ของงานไหลเรือไฟจังหวัดนครพนม

เห็นท่านอยู่ทุกที่

ในบริเวณนี้  รับรองว่าไม่มีใครหนีท่านพ้น




     พออีกวันถัดมา  ได้ผ่านไปที่บริเวณหน้าตลาดอินโดจีน
ก็พบว่ามีการจัดงาน " ถนนอาหารสะอาด รสชาติอร่อย " 
กำหนดงาน 15 - 24 ตุลาคม 2553 เวลาเดียวกับงานไหลเรือไฟเลย
ก็เลยเดาเอาว่า  การแสดงศิลปวัฒนธรรมนครพนมปีนี้น่าจะไม่มี

ยืนชมตามอัธยาศัย  ดูไกลๆเหมือนมีคนดูเยอะ

แต่แล้วในหัวค่ำของคืนวันที่ 4 ของงานไหลเรือไฟฯ  
มี บอย เพื่อนของลูกชาย  ขี่มอเตอร์ไซต์แวะมาแจ้งข่าว

" คุณลุงไม่ไปดูการแสดงที่อินโดจีน เหรอครับ ตอนนี้เขาเริ่มแล้วนะ"
" อ้าว  ยังจัดอยู่เหรอนึกว่าไม่มีซะแล้ว  ว่าแต่ทำไมปีนี้มันเงียบจัง  ไม่เห็นมีใครรู้เรื่องเลยว่าจะจัดที่ไหน " ช่างเขียน คิดในใจ
ว่าแล้วก็ดิ่งมาที่ตลาดอินโดจีนทันที




พอมาถึงสถานที่ ลานหน้าตลาดอินโดจีน ก็เห็นเวทีมีไฟสว่าง พร้อมกับเสียงเพลงโปงลางดังกระหึ่ม  มีคนยืนมุงดูการแสดงพอสมควร
แต่เมื่อโผล่ไปดูหน้าเวที  อ้าว ป้ายถนนอาหาร ยังอยู่ไม่ได้เปลี่ยน
ไปดูบริเวณที่นั่งชม  ก็ไม่มีเก้าอี้ให้นั่ง ในคราวนี้
แต่ก็มีคนปูเสื่อนั่งดูไม่กี่คน  ซึ่งก็ไม่ได้แปลกใจอะไร
เพราะการแสดงพื้นบ้านแบบนี้ จะกี่ปีๆ ก็มีผู้มาชมบางตา
จะเสียความรู้สึกบ้าง  ก็คงเป็นเรื่องฉากหลังเวที
ที่ ไม่ได้เอื้อบรรยากาศ การแสดงขนบประเพณีของท้องถิ่นเลย


 ก็พบว่ามีคนนั่งดูน้อยกว่า คนแสดงบนเวที


" อ้าวเวอะ เฮ๊ย  ฉากหลังยังเป็น ถนนอาหารสะอาด  อยู่  "


ประหยัดแบบนี้  ก็ประหยัดความประทับใจด้วยนะ

บรรยากาศการชมแบบบ้านๆ สบายๆ ตามอัธยาศัย  แล้วอย่ามาว่ากัน



   คนดูส่วนใหญ่ก็เป็นผู้ติดตามชาวคณะการแสดงนั่นแหละ



 ที่ไม่ได้แปลกใจเลยก็คือ  มีผู้ชมน้อยบางตา  แต่ที่อึ้งกิมกี่ ก็คือ  ไม่มีเก้าอี้นั่ง
ซึ่่งพิธีกรบนเวที ก็เป็นใจดีเหลือเกิน ยุให้คนดูใช้ถุงก็อปแก็บมาปูรองนั่งก็ได้



ภาพการแสดงที่ลานตะวันเบิกฟ้าเมื่อปีก่อน  ถึงคนดูน้อยแต่ก็มีเก้าอี้ให้นั่งชมสบายๆ

เหตุที่มีผู้ชมการแสดงศิลปะพื้นบ้านน้อยนี่  น่าจะเป็นเพราะ  ผ่ายจัดงานไม่ได้โหมโฆษณาประชาสัมพันธุ์ จนคนไม่รู้ว่า ปีนี้จะมีการ
แสดงมั๊ย แล้วจะจัดที่ไหน เมื่อไหร่และมีอะไรบ้าง
  ที่สำคัญ  ไม่ได้ตระเตรียมตกแต่งสถานที่  เพื่อจะเกื้อหนุนส่งเสริมบรรยากาศให้ การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านนครพนม  มีความน่าสนใจยิ่งขึ้น











เมื่อได้ชมการแสดงมา 2 - 3 คืนแล้ว ขอบอกว่าปีนี้มีคุณภาพกว่าปีก่อนมาก  หลายชุดมีความน่าสนใจและมีสิทธิ์แจ้งเกิด
เสียดายแทนหลายๆคนที่ไม่มีโอกาสได้มาชม
แต่ก็อดเสียความรู้สึกแทนชาวคณะการแสดงชนเผ่าทุกชุดไม่ได้
เพราะเตรียมตัวมาเป็นเดือนๆ  แต่มาแล้วมีคนดูไม่กี่สิบ
ก็แน่นอนว่าเวทีการแสดงพื้นบ้าน คงจะไม่เท่า เวทีคอนเสิร์ท

เมื่อพูดถึง " การแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น " แล้ว  
ทำให้นึกผู้ใหญ่ที่ ช่างเขียน นับถือท่านหนึ่ง
ที่ต้องขอย้อนเรื่องไปนานซักหน่อย


                    คงจะประมาณหลังสงครามเวียตนามจบใหม่ๆ  ในตอนนั้นฝรั่งจีไอที่เคยเห็นอยู่ทั่วเมืองนครฯหายไปหมดยังกะโดนสาป  แล้วก็มีผู้อพยพหลั่งไหลเข้ามาอยู่แทน  จำได้ว่าช่วงนั้นเองที่มีโอกาสได้พบผู้ใหญ่ท่านนี้ ซึ่งเป็นนักเขียนคนดังของ อนุสาร อสท. เป็นครั้งแรก  ตอนนั้นท่านกำลังเดินทางสำรวจหาข้อมูลการท่องเที่ยวในภาคอีสาน และได้แวะมานครพนมวันนั้นพอดี   ในระหว่างการสนทนา ท่านเล่าให้ฟังว่า  เมื่อปี 2505  เคยมาอีสานเป็นครั้งแรกกับคณะ อสท.ชุดใหญ่เพื่อมาสำรวจแหล่งท่องเที่ยว การจัดทำสารคดีและเผยแพร่การท่องเที่ยว  โดยมีเป้าหมายจะไปชมวิถีชีวิตของชนชาวผู้ไทยใน 3 จังหวัด คือ กาฬสินธุ์ สกลนคร และนครพนม


               ในตอนนั้น ท่านและชาวคณะต่างมีความเห็นว่า  วัฒนธรรมประเพณีของชาวผู้ไทยทั้ง 3 จังหวัด  เป็นเรื่องที่น่าตื่นตาตื่นใจ  และมีความแปลกแตกต่างจากชาวอีสานโดยทั่วไป เช่น ประเพณีการบายศรีการผูกข้อต่อแขน  การชนช้าง หรือ ดูดอุ ( เหล้าไหภูไท ที่ชาวคณะจดจำรสชาติความมึนเมาไปไม่รู้ลืม ) แต่สำหรับ ที่อำเภอเรณูนคร  จังหวัดนครพนม แล้ว  ชาวคณะประทับใจที่สุดกับ การต้อนรับขับสู้แขกผู้มาเยือน ความงามนุ่มนวลของสาวผู้ไทยเรณูนคร  ซึ่งเลื่องชื่อมากในเวลานั้น  และโดยเฉพาะ  เครื่องแต่งกายของสาวผู้ไทยเรณูนคร ชุดสีน้ำเงินขลิบแดง มีผ้าสไบพาดไหล่สีขาว ทัดดอกไม้ขาวที่มวยผม  ท่านคิดว่า อันนี้มันทำให้สาวผู้ไทยเรณูนคร  ดูโดดเด่นและแตกต่างจากสาวผู้ไทยที่อื่นๆ 


 แล้วท่านยังได้พูดถึงสิ่่งดีๆมากมายที่ได้พบเห็นในจังหวัดนครพนมว่า  นอกจากมี " พระธาตุพนม " ที่คนรู้จักเคารพนับถือไปทั่วประเทศแล้ว  นครพนมยังเป็นเมืองชายแดนติดแม่น้ำโขงที่มีธรรมชาติสวยงาม  แถมยังรุ่มรวย " มรดกทางวัฒนธรรม " คล้ายกับจังหวัดชายแดนทางภาคเหนือ นั่นก็คือ วิถีชีวิตของ 7 ชนเผ่าชาติพันธุ์ซึ่งหลายที่ไม่มี  ที่ต่อไปวันหน้าจะเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของจังหวัดนครพนม  ที่สามารถใช้เป็นจุดขายด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดได้


                 ก็น่าจะเป็นเช่นนั้นนะ  เพราะในเวลาต่อมา  เมื่อการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดโปรแกรมพานักท่องเที่ยวมาตระเวณท่องเที่ยวที่ภาคอีสานทีไร  ก็มักจะเลือกจังหวัดนครพนมเป็นไฮไลท์ของการเดินทาง  โดยกำหนดให้เป็นสถานที่จัดเลี้ยงรับรองนักท่องเที่ยว ในบรรยากาศแบบท้องถิ่น มีการบายศรีสู่ขวัญ  การชนช้างและชมการแสดง " ฟ้อนภูไท " ของชาวผู้ไทยเรณูนคร  และเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวออกมาร่วมสนุกในการฟ้อนรำกับหนุ่มสาวผู้ไทยในคืนนั้นทุกที


                 ชื่อเสียงของ " ฟ้อนภูไท " ที่โด่งดังเป็นที่รู้จักไปทั่วประเทศ  ได้สร้างอานิสงส์อันใหญ่ยิ่ง  ที่ชาวคณะฟ้อนภูไทเรณูนครได้รับในเวลาต่อมา ก็คือ  การมีโอกาสได้รับเชิญไปแสดงที่หน้าพระที่นั่งอยู่หลายครั้งหลายวาระ และแถมยังได้ไปแสดงโชว์ที่ต่างประเทศตามพระราชเสาวนีย์ก็อีกหลายครั้งเช่นกัน  ไม่นับรวมถึงการไปแสดงในงานอื่นๆทั่วประเทศนับครั้งไม่ถ้วนและการบรรจุลงในหลักสูตรของวิทยาลัยนาฎศิลปหลายแห่ง

        จำเนียรกาล ก็ลุล่วงมา เนิ่นนานกว่า 40 ปีแล้ว  นับแต่ร่ำลือกันว่ามี   " พลอยก้อนใหญ่  " จมอยู่ที่แม่น้ำโขง ณ เมืองแห่งขุนเขา แห่งนี้  ถ้าจะปล่อยให้พลอยสีสวยเหล่านี้จมอยู่ใต้น้ำต่อไป ก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย  หรือว่า  จะรอท่า "ใครสักคน "  ขุดขึ้นมาเจียรนัยให้เป็น " พลอยส่องสี มณีส่องแสง " ให้ผู้คนทั้งแผ่นดินได้ชื่นชมต่อไป

สวัสดี

อยากไปเร็ว  ก็ให้มรึงรีบไป     อยากไปไกล  ก็ให้รอไปกับกรู

จับตา  สามยาม
28 ตุลาคม 2553